ไขมันในเลือดสูง ทานอาหารเสริมอะไรดี

Last updated: 31 ธ.ค. 2564  |  13872 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไขมันในเลือดสูง ทานอาหารเสริมอะไรดี

ไขมันในเลือดสูง  ไขมันในผนังเส้นเลือด ทานอะไรดี และไขมันในเลือดที่เจาะกัน ตัวไหนดี ตัวไหนไม่ดี และถ้าไขมันในเลือดสูง ต้องกินอาหารเสริมตัวไหนดี

ตัวที่ดี และไม่ดี มีดังนี้ครับ ไตรกลีเซอไรด์ สูงมากไม่ดี 

โคเลสเตอรอล มีหลายแบบ โดยทั่วไป รวมๆ สูงมากมักไม่ดี เพราะมักจะมี ชนิด LDL มากกว่า HDL 

ถ้าแยกย่อย จริงๆ 
- แบบ แอลดีแอล LDL โคเลสเตอรอล สูงมาก ไม่ดี  
- แบบ HDL โคเลสเตอรอล สูงมากดี ต่ำมากกลับไม่ดีครับ

ตัวที่ลดไขมัน โคเลสเตอรอล ได้ดีสุดคือยาคุณหมอ และอาหารเสริมได้แก่ กระเทียม น้ำมันข้าว ไฟโตสเตอรอล น้ำมันมะกอก ถั่งเช่า ขิง

ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำมันปลา ช่วยลดได้ครับ

กลูโคแมนแนน ก็ช่วยลดไขมันทั้งหมดได้บ้างเช่นกัน แต่สองตัวนี้ต้องกินห่างยา 2-3 ชั่วโมงนะครับ

ถ้าเป็นไขมันในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบ ตัวช่วยมี งาดำ ทับทิมเม็ดหรือน้ำก็ได้ กระเทียม อีจีซีจี ครับ

รายละเอียดน่ารู้อื่น ๆมีดังนี้ครับ
โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับโคเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิดก็ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

     ไขมันในเลือดมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญได้แก่

     1. โคเลสเตอรอล ร่างกายสามารถสร้างขึ้นเองและอีกส่วนหนึ่งได้รับจากอาหาร แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

          1.1  โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย (แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล / LDL) ถ้ามีในระดับสูงเกินไปจะไปสะสมที่เยื่อบุด้านในของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ หรืออุดตัน

          1.2  โคเลสเตอรอลชนิดดี (เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล / HDL) เป็นชนิดที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลที่เหลือไปทำลายที่ตับ ผู้ที่มีโคเลสเตอรอลชนิดนี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

2. ไตรกลีเซอร์ไรด์ เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและได้รับจากอาหาร  ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้

สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

     1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์
     2. กินอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรืออาหารที่ให้พลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย
     3. โรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
     4. การดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ ทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
     5. ขาดการออกกำลังกาย

อันตรายจากภาวะไขมันในเลือดสูง 
ระดับไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ อุดตัน ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขาตีบตัน ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น
    
การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

     1. ควบคุมอาหาร

     อาหารที่ควรทาน

     - นมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย
     - เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โดยแยกเอาไขมันและหนังออกให้หมด ถั่วเมล็ดแห้ง
     - ข้าวที่ไม่ขัดสีมาก ขนมปังโฮลวีท
     - ผักสดต่าง ๆ รวมทั้งกระเทียม ข้าวโพด
     - ผลไม้ไม่หวานจัด
     - ใช้ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว ประกอบอาหาร
     - อาหารประเภทต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ นึ่ง อบ ย่าง (ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ)
     - ไขมันจากปลาทะเล สามารถลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวน้อยลง
     - อาหารที่มีไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) สูง จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล ทำให้การดูดซึมลดลง
     - อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่ แบ่งอาหารตามปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร


อาหารที่ไม่ควรทาน

     - อาหารที่มีไขมันมาก ได้แก่ อาหารทอด เช่น ไก่ทอด ไข่เจียว กล้วยแขก แกงกะทิ หลนต่าง ๆ ไส้กรอก กุนเชียง
     - เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง แฮม เบคอน หมูยอ
     - อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก หอยนางรม
     - ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และกะทิหรือมะพร้าว เช่น กล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ 
       ข้าวโพดคลุกมะพร้าวน้ำตาล
     - ขนมที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น ขนมขบเคี้ยว โดนัท เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม
     - ไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น เนย มันหมู มันวัว มันไก่ 
     2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันละ 30 นาที เป็นการเพิ่มการเผาผลาญอาหาร  ช่วยลดโคเลสเตอรอลและเพิ่มระดับเอชดีแอลในเลือด ซึ่งเป็นตัวป้องกันการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง
     3. งดสูบบุหรี่ บุหรี่ทำให้เอชดีแอลในเลือดต่ำลง และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
     4. ลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน
     5. ปรึกษาแพทย์ ติดตามดูระดับไขมัน  บางรายอาจต้องใช้ยาช่วยลดระดับไขมัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ชี้แนะและติดตามผลการรักษาต่อไป

เครดิต: จากกลุ่มไลน์ หมอตั้มตอบปัญหา โดย คุณหมอตั้ม กิฟฟารีน

สั่งซื้ออาหารเสริมสุขภาพกิฟฟารีน แอดไลน์ หรือ
โทร. 081-8459883

สั่งซื้อสินค้า สอบถาม


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้