แคลเซียม เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน อีกทั้งป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน สำหรับเด็กโตที่ต้องการเพิ่มความสูง และสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างมวลกระดูกควรรับประทาน
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างการควรได้รับในแต่ละช่วงวัยต่อวัน
- เด็กก่อนวัยปีทอง 800 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนมสด 3-5 แก้ว
- เด็กวัยปีทอง 1,200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนมสด 5-6 แก้ว
- ผู้ใหญ่ 1,000 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนมสด 3-5 แก้ว
- วัยสูงอายุ 1,200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนมสด 5-6 แก้ว
หน้าที่สำคัญของแคลเซี่ยม
- เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันความผิดปกติของกระดูกและฟัน เช่น กระดูกหักง่าย หลังโก่งงอ กระดูกเรียงผิดรูป หรือ ฟันหักง่าย
- ป้องกันการเกิดโรครกระดูกพรุน ช่วยสร้างเนื้อกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
- ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้านความสูงและความแข็งแรงของเด็ก
วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆในแคลเซี่ยม มีประโยชน์ดังนี้
- วิตามินดี 3 เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้น
- แมกนีเซี่ยม ในร่างกายส่วนมาก 60-70% จะพบในกระดูก จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก และส่งสัญญาณทางประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ การได้รับ แมกนีเซี่ยมในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
- แมงกานิส เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการพัฒนากระดูกที่จำเป็นตามปกติจำเป็นในการเสริมสร้างระบบโครงสร้างของร่างกาย
- วิตามินซี เป็นวิตามินที่มีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ และเสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง
- สังกะสี จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การเจริญของระบบสืบพันธุ์ สำคัญในการสร้างกระดูกตามปกติและช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
- ทองแดง มีความสำคัญในระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันร่วมกับวิตามินซีในการสร้างอีลาสติน จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีนและสร้างสีของผิวหนังและสีผม
- วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเซลล์ประสาท
แคลเซี่ยมจำเป็นสำหรับใครบ้าง
- วัยเด็กวัยปีทอง แคลเซี่ยมมีความจำเป็นในการเจริญเติบโตและความสูง เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กในช่วงวัยปีทอง ซึ่งเป็นช่วงสะสมมวลกระดูกสำหรับการเจริญเติบโต ความสูง และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด
- วัยผู้ใหญ่ หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซี่ยมที่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซี่ยมที่สะสมอยู่ออกมาใช้ หากไม่ได้รับอย่างเพียงพอเป็นประจำ แคลเซี่ยมในกระดูกจะถูกดึงออกมามากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จึงแตกหักได้ง่ายแม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการดังกล่าวก็คือโรคกระดูกพรุน โดยหากเป็นรุนแรงแล้วจึงแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหักทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม ในผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าผู้ชายประมาณ 4 เท่า
- คุณแม่ตั้งครรภ์ ที่ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงขณะตั้งครรภ์นั้นจะทำให้ลูกในท้องจะมีกระดูกและฟันที่แข็งแรง ส่วนมากคุณหมอที่ฝากครรภ์จะแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทานแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะถ้าลูกคลอดออกมาแล้วอาจจะดึงแคลเซียมจากตัวคุณแม่ไปเสริมสร้างส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย ในขณะที่ตั้งครรภ์นั้นหากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจจะเป็น ตะคริว หรือภาวะกล้ามเนื้อเกร็งในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
- ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ในช่วง 5 ปีแรก มวลกระดูกจะลงลงอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมากตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและวัยชราจะยังมีมวลกระดูกเหลืออยู่มากกว่าคนที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ
ส่วนประกอบสำคัญใน 1 เม็ด
-แคลเซี่ยม 600 มก.
-แมกนีเซียม 53 มก.
-วิตามินดี3 - 200 หน่วยสากล
-วิตามินซี 30 มก.
-วิตามินอี 3 หน่วยสากล
-สังกะสี 7.5 มก.
-แมงกานิส 2 มก.
มาตรฐาน อย. เลขที่ 13-1-03440-1-0076
วิธีรับประทาน: ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร
กระปุก 60 เม็ด
สอบถามข้อมูล โปรโมชั่น สั่งซื้อสินค้า
คลิกเพิ่มเพื่อนเลยค่ะ หรือโทรสั่ง 081-8459883